วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผักปลอดสารพิษ ภูมิปัญญาด้านการเกษตร



                  


                        จากการละเลยด้านอาหารการกินของคนไทยสมัยปัจจุบัน โดยเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับอาหารที่ด้อยคุณค่า
เพราะหาซื้อง่ายและไม่ต้องทำเอง คนไทยยุคนี้จึงมีสุขภาพไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ขณะเดียวกันจากสถิติก็พบว่า นับวันคนไทย
มีอายุเฉลี่ยลดลง เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้คนไทยต้องเป็นเช่นนั้นก็เพราะขาดความรู้ด้านโภชนาการ เนื่องมาจากการ
แข่งขันทางสังคม การรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน และการอวดฉลาดในเรื่องที่ไม่รู้
พฤติกรรมการรับประทานหรือการบริโภคที่คนไทยกำลังดำเนินชีวิตอยู่ในทุกวันนี้ ยังคงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การบริโภคอาหาร
หลักให้ครบทั้ง 5 หมู่ตามโภชนา คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน ซึ่งมนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหาร
อย่างครบครันจึงจะทำให้สุขภาพร่างกาย แม้กระนั้น หากมีผู้คนยืนยันว่ารับประทานอาหารหลักจนครบทั้ง 5หมู่มานานแล้ว
แต่กลับมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงเท่าที่ควร จึงคิดจะไปรับประทานอาหารตามใจปากน่าจะดีกว่า อย่างนี้ถือว่าคิดผิด เพราะต้องวิเคราะห์ลงไปถึงที่มาของหารแต่ละประเภทว่ามีคุณสมบัติสะอาดและถูก สุขลักษณะหรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความ
สำคัญ คือปัจจุบันการผลิตอาหารเพื่อการบริโภคนั้น ผู้ผลิตมักเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ สิ่งที่อันตรายี่สุดก็เห็นจะเป็นการตกค้างของสารพิษที่ปะปนมากับอาหารและพืช ผัก
จากปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่บ้านลำพยา ในเขตอำเภอเมืองนครปฐม ทำการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ พวกเขาหวังว่าจะมีส่วนช่วยให้ผู้คนมีโอกาส
เลือกพืชผักที่ปลอดภัยต่อการบริโภค โดยสามารถรับวิตามินที่ได้จากผักใบเขียว ไปหล่อเลี้ยงการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร
อีกทางหนึ่ง ลุงไพจิตต สันติธราภพ อดีตกำนันตำบลลำพยาวัย 73 ปี ปัจจุบันเป็นหนึ่งในผู้นำกรเพาะปลูกพืชผักสีเขียวประเภทปลอดสารพิษ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรม
ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครปฐม จนระยะหลังชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงได้หันมาปลูกตาม และทำให้มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะสามารถขายพืชผักได้ราคา
อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างทางเลือกให้ประชาชนอีกทางหนึ่ง ลุงไพจิตต เล่าว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ของที่นี่ดำเนินชีวิตตามแบบเกษตรกรในเขตเมืองทั่วไป เช่น ทำสวนผลไม้
สวนมะพร้าว และเลี้ยงสัตว์ประเภทสุกร ส่วนการปลูกผักก็มีอยู่มาก ในอดีตเป็นรูปแบบเดิมคือยกร่องพรวนดินและใช้ยาฆ่าแมลง เมื่อผลผลิตเติบโตเต็มที่ก็ตัดนำไปขาย
ยังตลาด โดยไม่ได้คำนึงถึงสารตกค้าง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการบริโภคของผู้ซื้ออย่างมาก "สมัยนั้น ไม่ใช่ว่าเกษตรกรจะตั้งใจให้คนซื้อรับความเสี่ยงจากสารตกค้าง
แต่เป็นเพราะความไม่รู้ และไม่ได้เฉลียวใจ เห็นว่าเมื่อปลูกผักมีแมลงมาเกาะกินทำลายก็ต้องใช้ยาฆ่าแมลงหวังกำจัดศัตรู พืชเพียงอย่างเดียวแต่ลืมไปว่ามันมีสารตกค้างอยู่"

ปลูกผักปลอดสารพิษเป็นรายแรก
อดีตกำนันตำบลลำพยาเล่าต่อไปว่า จนระยะหลังประมาณ 20 ปีที่แล้วกรมส่งเสริมการเกษตรจังหวัดนครปฐม ได้เข้ามาให้
คำแนะนำถึงผลดีของการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยทางราชการเป็นฝ่ายช่วยในเรื่องทุนบางส่วน เช่น มุ้งไนลอนคลุมแปลงผัก
ส่วนเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดินก็ลงแรง เมื่อได้ผลประโยชน์ก็รับเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องไปให้ทางราชการ แต่เนื่องจากวิทยาการที่หน่วยงานราชการเสนอให้ทำเป็นของแปลกใหม่ที่ชาวบ้าน ไม่คุ้นเคย ลุงไพจิตตจึงตัดสินใจทำการเกษตร
แบบใหม่ตามลำพัง โดยมีภรรยาให้ความช่วยเหลือเต็มที่ "พอเริ่มปลูกก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ระยะนั้นจะมีปัญหาอย่างเดียว
คือการตลาด เพราะผู้ซื้อยังไม่ยอมรับ และราคาของผักปลอดสารพิษสูงกว่าผักทั่วไป
จนหน่วยงานราชการโดยเฉพาะเทศบาลได้เข้ามาช่วยโดยจัดหาสถานที่จำหน่ายพืชผลทางเกษตรชนิดนี้ให้ในตลาด
และยังช่วยเขียนป้ายโฆษณาอีกทางหนึ่ง ทำให้ผู้คนเริ่มสนใจ และให้การยอมรับในที่สุด" คุณลุงผู้บุกเบิกบอกด้วยว่า จากความสำเร็จในเบื้องต้นทำให้ชาวบ้านอีกบาง
ส่วนเริ่มให้ความสนใจและทดลองทำจนปัจจุบันมีอยู่ 4 ราย แต่ละรายผลิตไม่ทันต่อการจำหน่าย

ผักปลอดสารพิษใช้สารพิษหรือไม่
่ บางคนเข้าใจว่าผักปลอดสารพิษ ต้องไม่ใช้สารพิษใด ๆ ในการบำรุงดูแลให้เจริญเติบโต ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
เพราะแม้ว่าผักปลอดสารพิษจะปลอดภัยอย่างแน่นอน แต่กระบวนการและขั้นตอนจำเป็นต้องมีสารพิษเข้ามาเกี่ยวข้อง
จนกระทั่งพืชผักเติบโตนำไปบริโภคได้ ซึ่งแต่ละขั้นตอนผ่านกระบวนการอย่างไร จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ การปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกพืชผักต้องมีการเตรียมดินในขั้นแรกเหมือนกับการเกษตรประเภทอื่น คือ ยกแปลงดินกว้างประมาณ 1.50-2.00 เมตร
ความยาวประมาณ 10-15 เมตร จากนั้นพรวนดินให้ทั่วแปลง แล้วจึงหว่านเมล็ดพันธุ์ผัก พันธุ์ผักส่วนใหญ่ที่เกษตรกรนิยมนำ
มาปลูกได้แก่ คะน้า, ผักกาดขาว, กวางตุ้ง, กวางตุ้งไต้หวัน, ผักบุ้งจีน และผักขมจีน เป็นต้น หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ผักแล้ว
โปรยฟางคลุมดินอีกชั้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวหน้าดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ขั้นตอนดังกล่าวนี้เกษตรกรบางรายอาจยังไม่
โรยเมล็ดพันธุ์ แต่ใช้วิธีเมื่อเสร็จสิ้นการพรวนดินแล้วทิ้งไว้ประมาณ 7 วันให้หญ้าขึ้นจากนั้นจึงใช้ยากำจัดวัชพืชฉีดลงไป เมื่อวัชพืชตายจะกลายเป็นปุ๋ยไปในตัว
จากนั้นจึงโรยเมล็ดพันธุ์ผัก เมื่อพันธุ์ผักเจริญเติบโตจะไม่มีปัญหาเรื่องวัชพืชขึ้นมาแย่งอาหาร


การดูแล
ระหว่างการปลูก เกษตรกรจะดูแลอย่างต่อเนื่อง จนหลายคนยืนยันว่าการปลูกผักปลอดสารพิษเหมือนดูแลเด็กอ่อน
เนื่องจากภายในดินจะมีแมลงและสัตว์เป็นศัตรูพืชอาศัยอยู่ ระหว่างที่พันธุ์ผักเจริญเติบโตต้องหมั่นใช้ยาฆ่าแมลงชนิดต่าง ๆ
และยูเรียอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นการให้น้ำต้องกระทำอย่างมีขั้นตอนและต้องพอเหมาะกับพื้นที่
โดยเฉพาะการประเมินความร้อนภายในแปลงผักซึ่งปกติจะมีอุณหภูมิสูงกว่าข้างนอกเพราะถูกคลุมด้วยตาข่ายไนลอน
อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตของผักจะมีกำหนดอายุการปลูก 45 วัน ดังนี้ เกษตรกรจะใช้ยาฆ่าแมลงเฉพาะในช่วงเวลา
ระหว่างวันแรกของการปลูกกล้าผักจนไปถึง 30 วัน หลังจากนั้นเกษตรกรจะหยุดการใช้ยาฆ่าแมลงและกำจัดวัชพืชทุกชนิด
เพื่อให้สารพิษที่เกาะตามผิวต้นผักและการดูดซับคลายตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน รวมอายุได้ 45 วันจะตัดขาย
จึงจะเรียกผักปลอดสารพิษอย่างสมบูรณ์ได

ตลาดและการจำหน่าย
ผลผลิตที่ได้ เกษตรกรจะทำการตัดโดยบางรายนำไปจำหน่ายยังตลาดในตัวเมืองนครปฐม ซึ่งลุงกำนันไพจิตตบอกว่า
ผักปลอดสารพิษ เมื่อนำไปถึงตลาดจะจำหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่มั่นใจในคุณภาพของ
ผักทั่วไป ที่บางต้นแม้จะมีใบสวยแต่พวกเขาเชื่อว่าไม่ปลอดภัย ส่วนผักของเกษตรกรี่ลำพยาแม้บางใบจะผุพรุนไป
บ้างแต่ก็เชื่อมั่นว่าปลอดภัย จนเกิดปัญหาผลิตไม่ทันต่อความต้องการ นอกจากนั้นเกษตรกรอีกส่วนหนึ่ง
จะจำหน่ายผักปลอดสารพิษให้กับกลุ่มบริษัทการค้าที่รับไปจำหน่ายังตลาดในเมืองใหญ่ หรือในกรุงเทพมหานคร
ตามซุปเปอร์มาเก็ต ซึ่งก็เกิดปัญหาผลิตไม่ทันเช่นกัน สำหรับราคาขายผักปลอดสารพิษ โดยเฉลี่ยในช่วงปี 2541
ผักคะน้าจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 12 บาท ผักกาดขาวกิโลกรัมละ 20 บาท กวางตุ้งกิโลกรัมละ 16 บาท กวางตุ้งไต้หวัน
กิโลกรัมละ 20 บาท และผักบุ้งจีนกิโลกรัมละ 16 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สุงกว่าผักทั่วไปถึงเท่าตัว แต่ก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง รายได้ของเกษตรกร
เกษตรกรลำพยา ยืนยันว่ารายได้จากการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเฉลี่ยในพื้นที่ 100 ตารางวา จะสร้างรายได้ประมาณ 2,500 บาทขึ้นไป หากมีพื้นที่มากกว่านั้น
รายได้ก็จะเพิ่มขึ้นตามส่วน แต่โดยส่วนใหญ่การปลูกผักประเภทนี้ มักทำควบคู่ไปกับการทำสวน ซึ่งเป็นผลผลิตเป็นรายได้อีกส่วนหนึ่ง และบางบ้านยังทำขนม
หรืออาหารไปจำหน่ายยังตลาด ทำให้เกิดรายได้หลายทาง จึงมีความเป็นอยู่ไม่ขัดสน ประโยชน์ต่อท้องถิ่น แน่นอนว่ากิจกรรมใดที่นำมาซึ่งรายได้ ย่อมเกิดประโยชน์


โดยรวมต่อท้องถิ่น แต่สำหรับอาชีพการปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นงานที่ต้องอาศัยการดูแลอย่างมาก ทำให้เกษตรกรบางส่วนไม่สนใจที่จะทำโดยวิธีนี้
แต่เลือกใช้วิธีการดั้งเดิมคือการยกแปลงปลูกในที่โล่งแจ้งและใช้สารเร่งการ เจริญเติบโตควบคู่ไปกับยาฆ่าแมลง ทำให้ได้ผลผลิตที่รวดเร็วและสวย แม้จะมีราคา
จำหน่ายต่อกิโลกรัมต่ำกว่าผักปลอดสารพิษ แต่ระยะเวลาที่เร็วและความสวยงามของพืชผักก็ช่วยให้เกษตรกรไม่เดือดร้อน แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การใช้สารพิษ
หรือยาฆ่าแมลงอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้หน้าดินเสีย และเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติของบรรดาแมลงอันเป็นผลเสียในอนาคต อย่างไรก็ดี
บทพิสูจน์ถึงการปลูกผักปลอดสารพิษให้ประโยชน์ทั้งคุณภาพของหน้าดินและผลผลิต ที่ออกสู่ตลาด โดยผู้บริโภครับประโยชน์ด้านสุขภาพอย่างเต็มที่ น่าจะเป็นทาง


เลือกหนึ่งของเกษตรกร และควรยิ่งที่ผู้บริโภค หรือผู้ซื้อจะร่วมกันกำหนดการซื้อเฉพาะผักที่มีคุณภาพ ซึ่งแม้จะมีราคาสูงกว่าแต่ปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง
ปัจจุบันผักปลอดสารพิษที่ตำบลลำพยา แม้จะมีการทำกันเพียงไม่กี่รายแต่ได้รับการยอมรับภายในจังหวัดนครปฐม และผู้ซื้ออีกส่วนหนึ่งในย่านเมืองใหญ่ ผักของ
ที่นี่จึงมีฐานะเป็นผลผลิตแห่งคุณภาพ และแหล่งชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเมืองนครปฐม อนาคตและการสืบสวน เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตดั้งเดิม


จากคนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง จนในระยะหลังราว 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศได้พัฒนาไปสู่การแข่งขันความเป็นหนึ่ง ผู้คนส่วนใหญ่แม้แต่เกษตรกรจึงทุ่มเทเงินทองให้
บุตรหลานเข้ารับการศึกษาในชั้นที่สูง

จนคนรุ่นใหม่ห่างเหินกับชีวิตชนบทและมองงานด้านการเกษตรเป็นงานเหน็ดเหนื่อยเหมาะสำหรับคนเรียนน้อยเกษตรกรรม
ของไทยจึงไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างเท่าที่ควรจะเป็น ผักปลอดสารพิษที่จังหวัดนครปฐมก็เช่นกัน ปัจจุบันดำเนินการทำกันอยู่เฉพาะรุ่นเก่าที่พอใจกับชีวิต
ประจำวันอย่างนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งในอาชีพที่น่าห่วงใยว่าในอนาคตอาจต้องหยุดลง

ฟาร์์มผักออร์แกนิก

การปลูก ผักออแกนิก โดยระบบ ไฮโดรโปนิก ผักออแกนิก ผักออร์แกนิ
" การปลูกพืชไร้ดิน" หรือ " การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน "หรือ ผักออแกนิค หมายถึง การปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยการใช้วัสดุปลูกต่าง ๆ [ผักออแกนิก] ในการปลูกเช่น น้ำ ทราย กรวด ดินเผา หรือวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดิน [ผักออแกนิก] ซึ่งพืชจะสามารเจริญเติบโต บนวัสดุปลูกได้จากการได้รับสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีน้ำผสมกับปุ๋ย หรือ ธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชต้องการทางรากพืช
ระบบปลูกพืชไร้ดินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ก็คือ [ผักออแกนิก] ระบบการปลูกพืชที่ใช้น้ำเป็นวัสดุปลูกโดยให้สารละลายธาตุอาหาร
( น้ำผสมกับปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการ ) ผ่านทางรากพืชโดยตรงซึ่งระบบนี้เราคุ้นเคยกันดีในชื่อว่า "ระบบไฮโดรโปนิก "นั่นเอง
ข้อดีของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือ พืชออแกนิกส์[ผักออแกนิก]
1.สารมารถทำการเพาะปลูกพืชได้ทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นในที่ที่ดินดีหรือไม่ดี หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกเราก็สามารถใช้วิธีไฮโดรโปนิกนี้ได้[ผักออแกนิก]
2.ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่า ร่นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ทำการผลิตได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
3.สามารถปลูกพืชเชิงธุรกิจได้หลากหลายชนิด[ผักออแกนิก]
4.ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน จึงไม่ต้องใช้สารพิษเพื่อกำจัดแมลง เป็นระบบปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5.ให้ผลผลิตที่สดสะอาด ปราศจากสารพิษทั้งจากดินและย่าฆ่าแมลง จึงบริโภคได้อย่างมั่นใจ
6.ผลผลิตได้ปริมาณ คุณภาพและราคาดีกว่าปลูกบนดินมากเพราะสมารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้ดีกว่า
7.อัตราการใช้แรงงาน เวลาในการปลูก และค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
8.ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินและกำจัดวัชพืชก่อนการปลูก
9.ใช้น้ำและธาตุอาหารได้อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้น้ำลดลงถึง10 เท่าตัวของการปลูกแบบธรรมดา
10. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารป้องกันและจำกัดแมลงได้ 100%
11.ประหยัดค่าขนส่ง เพราะสามารถเลือกพื้นที่ที่จะปลูกใกล้กับแหล่งรับซื้อได้ เนื่องจากใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก
12. มีวิธีการปลูกและการดูแลรักษาง่าย ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่คนพิการก็สามารถทำได้เป็นกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว และทางเลือกในการเพิ่มอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการอีกด้วย
การปลูกผักออแกนิก โดยวิธี ไฮโดรโปนิก เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในปัจจุบันและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

การปลูก ผักออแกนิก โดยระบบ ไฮโดรโปนิก


การปลูก ผักออแกนิก โดยระบบ ไฮโดรโปนิก

" การปลูกพืชไร้ดิน" หรือ " การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน "หรือ ผักออแกนิค หมายถึง การปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยการใช้วัสดุปลูกต่าง ๆ ในการปลูกเช่น น้ำ ทราย กรวด ดินเผา หรือวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดิน ซึ่งพืชจะสามารเจริญเติบโต บนวัสดุปลูกได้จากการได้รับสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีน้ำผสมกับปุ๋ย หรือ ธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชต้องการทางรากพืช

ระบบปลูกพืชไร้ดินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ก็คือ ระบบการปลูกพืชที่ใช้น้ำเป็นวัสดุปลูกโดยให้สารละลายธาตุอาหาร

( น้ำผสมกับปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการ ) ผ่านทางรากพืชโดยตรงซึ่งระบบนี้เราคุ้นเคยกันดีในชื่อว่า "ระบบไฮโดรโปนิก "นั่นเอง

ข้อดีของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือ พืชออแกนิกส์
1.สารมารถทำการเพาะปลูกพืชได้ทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นในที่ที่ดินดีหรือไม่ดี หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกเราก็สามารถใช้วิธีไฮโดรโปนิกนี้ได้

2.ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่า ร่นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ทำการผลิตได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง

3.สามารถปลูกพืชเชิงธุรกิจได้หลากหลายชนิด

4.ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน จึงไม่ต้องใช้สารพิษเพื่อกำจัดแมลง เป็นระบบปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5.ให้ผลผลิตที่สดสะอาด ปราศจากสารพิษทั้งจากดินและย่าฆ่าแมลง จึงบริโภคได้อย่างมั่นใจ

6.ผลผลิตได้ปริมาณ คุณภาพและราคาดีกว่าปลูกบนดินมากเพราะสมารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้ดีกว่า

7.อัตราการใช้แรงงาน เวลาในการปลูก และค่าใช้จ่ายต่ำกว่า

8.ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินและกำจัดวัชพืชก่อนการปลูก

9.ใช้น้ำและธาตุอาหารได้อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้น้ำลดลงถึง10 เท่าตัวของการปลูกแบบธรรมดา

10. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารป้องกันและจำกัดแมลงได้ 100%

11.ประหยัดค่าขนส่ง เพราะสามารถเลือกพื้นที่ที่จะปลูกใกล้กับแหล่งรับซื้อได้ เนื่องจากใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก

12. มีวิธีการปลูกและการดูแลรักษาง่าย ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่คนพิการก็สามารถทำได้เป็นกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว และทางเลือกในการเพิ่มอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการอีกด้วย
การปลูกผักออแกนิก โดยวิธี ไฮโดรโปนิก เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในปัจจุบันและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ตลาดนัดเกษตรปลอดพิษอาหารปลอดภัย







ตลาดนัดเกษตรปลอดพิษอาหารปลอดภัย จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคพบปะพูดคุย...

-ผักอินทรีย์ ผักพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ
-ผลไม้ปลอดสารพิษ
-เนื้อสัตว์ ไข่ ปลอดภัย พันธุ์พืชพื้นเมือง
-อาหารปลอดภัย อาหารสุขภาพ
-การตรวจสอบสารเคมีตกค้างพืชผัก
-ผักออแกนิก ผักไฮโดโปนิก
-ความรู้ใหม่ๆ มากมาย

เวลาที่ให้บริการ
-ทุกๆ วันพุธ เวลา 7.00-18.00 น.
-ทุกๆ วันเสาร์ เวลา 7.00-13.00 น.

ตลาดนัดเกษตรปลอดพิษอาหารปลอดภัย จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคพบปะพูดคุยกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและผู้บรริโภคในด้านการผลิต และความต้องการของผู้บริโภค โดยเกษตรกรได้มีโอกาสเรียนรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตรง เพื่อที่เกษตรกรจะได้นำข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเหล่านั้นไปปรับปรุงการผลิต และวางแผนการผลิตได้ตรงกับผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคจะได้รับทราบถึงปัญหาและอุสรรคของเกษตรกรและขีดความสามารถของ การผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ และยังเป็นส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค ในอันที่จะติดต่อซื้อขากันและแลกเปลี่ยนข้อมูล

ขยายจุดจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ ไปยังโรงอาหาร และหน่วยงานราชการในสถานที่และเวลาที่แน่นอน โดยมีจุดจำหน่ายผักปลอดสารพิษทั้งหมด 6 จุด โดยจำหน่ายในเวลา 10.00 -14.00 น. ในโรงอาหารคณะแพทย์ศาสตร์ และจำหน่วยในเวลา 11.30 - 13.30 น. สำหรับสถานที่อื่นๆ

1. เลือกซื้อสินค้าจากเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดพิษ
-ผักอินทรีย์ ผักพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ
-ผลไม้ปลอดสารพิษ
-เนื้อสัตว์ ไข่ ปลอดภัย สดตรงจากฟาร์ม
-กล้าผัก กิ่งพันธุ์ไม้ผล พันธุ์พืชพื้นเมือง

2. เลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตอาหารปลอดภัย
-อาหารปลอดภัย
-อาหารเพื่อสุขภาพ

3. สาธิตการทำอาหารพื้นเมือง

4. สาธิตการทำอาหารพื้นเมือง พร้อมเลือกซื้อชุดอาหารพร้อมปรุง

5. ตรวจสอบสารเคมีตกค้างพืชผัก
-สาธิตการตรวจสอบสารเคมีตกค้างในผัก

6. ความรู้ใหม่ ด้านสุขภาพ กับอาหาร

เกษตรปราณีต วิถีแห่งความพอเพียง

จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดภาวะหนี้สินขึ้นทั่วทุกพื้นที่ โดยเฉพาะ...




จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดภาวะหนี้สินขึ้นทั่วทุกพื้นที่ โดยเฉพาะที่ภาคอีสาน เมื่อก่อนหนุ่มสาวต่างจังหวัดที่เดิน ทางเข้าไปทำงานในกรุงเทพ แต่เมื่อเจอวิกฤติภาวะเศรษฐกิจ โรงงานหลายที่ปิดกิจการ ลดปริมาณพนักงานลง ทำให้หลายคนตกงาน โดนเลิกจ้าง ต้องเดินทางกลับบ้านเกิดเหมือนเดิม

จากเหตุการณ์นี้เองทำให้กลุ่มคนที่ชาวบ้านยกย่องให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ได้รวมกลุ่มและจัดตั้งขึ้นเป็นเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และพหุภาคีภาคอีสาน โดยได้พยายามศึกษารูปแบบการทำเกษตรกรรมที่ไม่ได้ยกเอาเงินเป็นตัวตั้งในระบบ การผลิต แต่ยกเอา "ความสุข" ขึ้นมาแทนด้วยการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานที่พึ่งตัวเอง ทำการออมน้ำ ออมสัตว์ และออมต้นไม้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงทำให้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมอย่างประณีต 1 ไร่ เพื่อนำไปสู่การมีอยู่ มีกิน และปลดหนี้สิน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยโครงการดังกล่าวจะเน้นการนำเอาองค์ความรู้ในการทำเกษตรผสมผสานของปราชญ์ ชาวบ้านมาออกแบบการทำเกษตรกรรมอย่างประณีต ที่จะต้องมีการศึกษาทั้งปริมาณและชนิดของพืช ที่จะใช้ปลูกรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องสามารถใช้ได้จริง

และหลังจากที่ได้ทดลองมาระยะหนึ่ง ทีมงานวิจัยที่ประกอบด้วย พ่อมหาอยู่ สุนทรชัย ปราชย์ชาวบ้านจากจังหวัดสุรินทร์ พ่อผาย สร้อยสระกลาง จากจังหวัดบุรีรัมย์ พ่อสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์,พ่อคำเดื่อง ภาษี,พ่อทัศน์ กระยอม และปราชญ์ชาวบ้านในภาคอีสานกว่า 20 คน ก็ได้สรุปว่าบนที่ดิน 1 ไร่ ต้องทำอย่างน้อย 8 อย่าง อาทิ ปลูกข้าว,ปลูกผัก,เลี้ยงสัตว์จำพวกปลา หมู หรือไก่ เป็นต้น

ซึ่งตามแนวคิดของพ่อมหานั้นการเกษตรปราณีต 1 ไร่ คือการปลูกด้วยฝีมือ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีความมั่นคงต่อผู้ผลิต เป็นสวนอาหารของครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพ มีความสุขบนตัวชี้วัดที่ตัวเองสร้างขึ้น และมีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมของโลก โดยพ่อคำเดื่อง ภาษี ยังได้เพิ่มเติมอีกว่า การทำเกษตรปราณีตคือการเปลี่ยนวิธีคิดของเกษตรกร

"แม้แต่การคิดว่า 1 ไร่ มี 1,600 ตารางเมตรยังหยาบเกินไป อาจจะต้องคิดเป็นตารางฟุต ตารางนิ้ว หรือตารางเซนติเมตรไปเลย เป็นการท้าทายให้ไม่คิดเฉพาะบนดินแต่ใต้ดินก็สามารถปลูกพืชได้ เช่น ปลูกมันเทศไว้ในดิน เหนือดินขึ้นไป 2 ชั้น 3 ชั้น ก็มีต้นไม้ มีสัตว์ ...และถ้าเราคิดให้พื้นที่ 1 ไร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นรอบแปลง 4 ด้านเท่ากับ 160 เมตร หรือ 160,000 เซนติเมตร จะมีชะอมโดยรอบ 500 กว่าต้น เก็บเกี่ยวแต่ละรอบก็เหลือกินมากและถ้าเหลือก็ขายวันละบาท จะมีเงินวันละ 500 บาท …นี่เฉพาะรั้ว ยังไม่นับพื้นที่ว่างในการปลูกผักผลไม้ ไม้ใช้สอย เพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์นานาชนิดได้อีกมาก" พ่อคำเดื่องกล่าว

ดังนั้นหากจะนิยามความหมายของคำว่า "เกษตรปราณีต" คือการทำเกษตรแบบเข้าใจธรรมชาติ เป็นการเกษตรในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ที่สามารถปลูกพืชในครัวเรือนไว้กินไว้ใช้อย่างครบถ้วน โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในกระบวนการปลูก หากเหลือกินก็สามารถนำมาขายได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาหรือเลี้ยงไก่ก็ได้ และถ้าหากมีพื้นที่มากกว่า 1 ไร่ ก็สามารถขยายออกไปได้ ซึ่งเป็นการทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ใช่การลงทุนใหญ่ครั้งเดียวที่จะมีความเสี่ยงมากกว่า

และนี่ก็คือการทำการเกษตรแบบพอเพียง ที่น่าจะเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในยุคน้ำมันแพงแบบนี้

เรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี

เรื่องปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี






         จากกระแส ของการไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในภาคการเกษตร มีนัยสำคัญที่น่าสนใจและชวนให้ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เนื่องจากมีการศึกษาและราย

ทำไม ต้อง...เกษตรอินทรีย์ ? จากกระแสของการไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในภาคการเกษตร มีนัยสำคัญที่น่าสนใจและชวนให้ศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เนื่องจากมีการศึกษาและรายงานผลการวิจัยออกมามากมาย ถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของนักวิชาการจากทั่วโลก ซึ่งมีทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์ของห่วงโซ่อาหาร ผลเสียต่อสถานะการณ์ของโลกโดยเฉพาะการทำลายชั้นบรรยากาศ ผลกระทบทำให้โครงสร้างและคุณภาพของดินเปลี่ยนแปลง ตลอดจนผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคอันเกิดจากการปนเปื้อน หรือสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ทั้งหมดที่กล่าวมา ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรของผู้บริโภค ตลอดจนผลักดันให้ปริมาณความต้องการสินค้าเกษตรที่ปลอดจากสารพิษตกค้างมีความ คุ้มค่าทางการตลาดและการลงทุนสำหรับเรื่อง “ เกษตรอินทรีย์ “ เกษตรอินทรีย์ คืออะไร ? สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ( I.F.O.A.M. ) ได้ให้คำอธิบายถึงความหมายและคำจำกัดความไว้ว่า “ เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เน้นที่หลักการปรับปรุงและบำรุงดิน ให้ความสำคัญต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศน์เกษตรกร ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติเพื่อการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคและศัตรูของพืชและสัตว์เลี้ยง “ ที่กล่าวมาในข้างต้น เป็นหลักสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพภูมิอากาศ และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน มีคำแนะนำที่แจกแจงเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ หลีกเลี่ยงหรืองดการใช้สารเคมี หรือ สารสังเคราะห์ใดๆในกระบวนการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี หรือ สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการไม่ใช้พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่มีการตัดต่อหรือดัดแปลงพันธุกรรม เลี่ยงการสัมผัสโดยตรงหรือป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีตามร่างกาย ทั้งจากภายในครัวเรือนหรือจากภายนอก พัฒนาระบบการผลิตที่นำไปสู่แนวทางการเกษตรที่ยั่งยืน เน้นความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ในกระบวนการผลิตในระยะยาว พัฒนาระบบการผลิตที่เน้นการพึ่งพาตนเอง หรือการช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่มเรื่องปัจจัยการผลิต เช่น การจัดหาวัสดุทำปุ๋ยบำรุงดิน การจัดการเรื่องโรคศัตรูพืช พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แรงงาน และ เงินทุน เป็นต้น ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดให้มีการหมุนเวียนธาตุอาหารในแปลงเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในระบบนิเวศน์ เพื่อรักษา สมดุลของระบบนิเวศน์ในไร่นา ตลอดจนลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและแมลง มีมนุษยธรรมในการเลี้ยงสัตว์ “ เกษตรอินทรีย์ “ มีประโยชน์อย่างไร ? ต้องมองย้อนกลับไปดูว่า สิ่งที่พืชต้องการใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต คือ ธาตุอาหารหลัก ซึ่งประกอบด้วย ไนโตรเจน ( Nitrogen : N ), ฟอสฟอรัส ( Phosphorus : P ) และ โปแตสเซียม ( Potasium : K ) สำหรับการพัฒนาระบบราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ธาตุอาหารรอง ซึ่งประกอบด้วย แคลเซียม ( Calsium : Ca ), แมกนีเซียม ( Magnesium : Mg ) และ กำมะถัน ( Sulphur : S ) สำหรับการพัฒนาสีสรร รส และกลิ่นหอม ธาตุอาหารเสริม ซึ่งประกอบด้วย เหล็ก ( Ferrus : Fe ), มังกานีส ( Manganese : Mn ), สังกะสี ( Zinc : Zn ),ทองแดง ( Cupper : Cu ), บอรอน ( Boron : Bo ), โมลิบนัม ( Molibnum : Mo ), และ คลอริน ( Chlorine : Cl ) สำหรับเสริมสร้างความแข็งแรงและภูมิต้านทานโรค ในขณะเดียวกัน ดิน ซึ่งเป็นวัตถุธาตุที่เกิดขึ้นเองเป็นชั้นๆตามธรรมชาติ จากแร่ธาตุต่างๆที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผสมรวมกับอินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยผุและย่อยสลายรวมกันเป็นชั้นบางๆห่อ หุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยทำให้พืชมีการก่อกำเนิดและเจริญเติบโต องค์ประกอบของดินที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืชที่ดี อนุมาณได้ ดังนี้ อนินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 45 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนที่สลายตัวทางเคมี ฟิสิกส์ และทางชีวเคมีของแร่และหินชนิดต่างๆ ประโยชน์หลักคือเป็นธาตุอาหารของพืช อินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 5 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นส่วนที่ได้จากการเน่าเปื่อยของเศษซากพืชซากสัตว์ที่ผุพัง ทับถมกันอยู่ในดิน ประโยชน์หลักคือเป็นตัวเชื่อมประสานอนินทรีย์วัตถุให้จับตัวกัน รวมทั้งดูดซับและรักษาระดับความชื้นในดินเอาไว้ น้ำ หรือ ความชื้น ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 25 โดยปริมาตร ส่วนหนึ่งจะแทรกตัวอยู่ตามช่องว่างของก้อนดิน ( เยื่อน้ำ ) อีกส่วนหนึ่งจะซับอยู่ในอนุภาคของดิน อากาศ ซึ่งจะมีอยู่ร้อยละ 25 โดยปริมาตร ส่วนใหญ่เป็น ก๊าซออกซิเจน, ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ประโยชน์หลักคือช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ โดยการทำงานของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยที่เล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่เป็นพวกเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ประโยชน์หลักคือช่วยย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ให้เป็นอินทรีย์วัตถุ พร้อมกับปลดปล่อยแอมโมเนียม, ไนเตรท, และซัลเฟต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของพืช ดังนั้น สรุปในใจความสำคัญได้ว่า “ ดินที่ดีที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช คือ ดินที่มีธาตุอาหารครบตามที่พืชต้องการ มีอินทรีย์วัตถุ มีความชื้นในดินที่เหมาะสม สภาพดินร่วน โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้ดี “ ซึ่งเกษตรอินทรีย์สามารถปรับสภาพทำให้ดินเกิดสภาพดังที่กล่าวมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของการคืนสภาพดังกล่าวให้กับดิน คือ “ ปุ๋ยอินทรีย์ “ ปุ๋ยอินทรีย์ กับ ปุ๋ยเคมี แตกต่างกันอย่างไร ? ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยสังเคราะห์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ต่างๆที่เป็นธาตุอาหาร หลักที่พืชต้องการ ซึ่งในที่นี้ก็คือธาตุอาหาร N – P – K โดยจะมีกรรมวิธีและกระบวนการผลิตที่จะปรุงแต่งสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละ ตัวไปตามความชนิดและช่วงอายุของพืช ทั่วไปจะเรียกกันว่า “ สูตรปุ๋ย ” ซึ่งความหมายของสูตรปุ๋ยจะหมายถึงสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละตัวที่มีอยู่ ในเนื้อปุ๋ยรวมทั้งสิ้น 100 ส่วน ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ให้คำอธิบายได้ว่า ในเนื้อปุ๋ย 100 ส่วนจะมี ไนโตรเจน ( N ) อยู่ 15 ส่วน, ฟอสฟอรัส ( P ) อยู่ 15 ส่วน และมี โปแตสเซียม ( K ) อยู่ 15 ส่วน รวมเป็น 45 ส่วน และอีก 55 ส่วนที่เหลือจะเป็นสารเติมแต่งอื่นๆ ซึ่งในที่นี้คือ ดินขาว หรือ สูตร 16 – 8 – 8 จะหมายถึงว่ามีเนื้อปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารรวมแล้วเพียง 32 ส่วน ที่เหลือก็จะเป็นดินขาว ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าอย่างน้อย 40 ส่วนใน 100 ส่วนของปุ๋ยเคมีจะเป็นดินขาว เพราะดินขาวจะมีส่วนช่วยในการปั้นเม็ดให้กลมสวย ทำให้เม็ดปุ๋ยมีความแข็งไม่แตกร่วนในขณะเก็บไว้นานๆ รวมถึงช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจน ( N ) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักตัวหนึ่งในเนื้อปุ๋ย ไม่ให้สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป แต่ดินขาวเองไม่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช ในขณะที่ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ หากจะให้นึกภาพได้ชัดเจนก็คือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรและวัชพืช ที่ผ่านการหมักให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนสลายตัวกลายเป็น อินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารที่พืชจะได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์ มาจากแร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรหรือวัชพืช ซึ่งจะมีธาตุอาหารสำหรับพืชอยู่ครบทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะเพียงธาตุอาหารหลักเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธาตุอาหารที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถกำหนดเป็นสูตรอาหารที่ชัดเจนและแน่ นอนได้ ทั้งนี้เพราะสัดส่วนของธาตุอาหารที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นปุ๋ยอะไรและได้จาก อะไร เท่าที่มีการตรวจสอบคุณค่าทางอาหารของปุ๋ยอินทรีย์โดยกองเกษตรเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เคยวัดค่า N – P – K ได้สูงสุดไม่เกิน 6 – 10 – 2 เท่านั้น แล้วปุ๋ยเคมี ไม่ดีตรงไหน ? สิ่งที่พืชต้องการมากที่สุดในการเจริญเติบโต ก็คือธาตุอาหารทุกๆกลุ่มอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะผลิตออกมาเป็นดอกเป็นผลให้กับเกษตรกรผู้ปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุอาหารหลักหรือ N – P – K ปุ๋ยเคมีเองก็สามารถให้ธาตุอาหารหลักที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้มากเท่าที่พืช ต้องการ สิ่งนี้เป็นส่วนที่ดีของปุ๋ยเคมี แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ธาตุอาหารหลักไม่ได้เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในปุ๋ยเคมี ในทางกลับกัน ปุ๋ยเคมีแต่ละสูตรที่ใช้กันในภาคการเกษตรมีสัดส่วนของธาตุอาหารหลักทุกตัว รวมกันแล้วไม่เกินร้อยละ 50 ( ชี้แจงไว้แล้วในข้างต้น ) ส่วนที่เหลือเป็นดินขาว ( Clay ) ซึ่งเป็นสารเติมแต่งทั้งหมด และดินขาวนี้เองที่เป็นข้อเสียของปุ๋ยเคมี เพราะดินขาวซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กจะแทรกตัวไปอัดแน่นอยู่ในช่องว่างของดิน เมื่อดินขาวได้รับหรือดูดความชื้นจากดิน ก็จะเปลี่ยนไปมีสภาพคล้ายน้ำแป้งและยึดเกาะเม็ดดินให้จับตัวกันแน่นขึ้น พร้อมกับขับไล่อากาศที่มีอยู่ในดินออกไปจนหมดหรือเหลืออยู่น้อยมาก ดังนั้น แปลงเกษตรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาโดยตลอด ดินจะมีการเปลี่ยนสภาพเป็นแข็งกระด้าง ระบบรากและลำต้นของพืชไม่แข็งแรง เพาะปลูกไม่ได้ผลผลิตที่ดี

ฟาร์มไฮโดรโพนิกส์

ฟาร์มไฮโดรโพนิกส์ ผักไร้ดินเมืองจันท์


       หากเอ่ยถึงจังหวัด จันทบุรี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ทะเล และภูเขา ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมองไปที่ภาพ เกษตรกรชาวสวน และ ผลไม้นานาพันธุ์ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด อาทิ เงาะ ทุเรียน มังคุด ฯลฯ ซึ่งการทำสวนผลไม้ถือเป็น อาชีพหลัก ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่นี่เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามบนพื้นที่ที่ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ใช่ว่าจะมีเพียงการทำสวนผล ไม้เท่านั้น โดยที่ “บางกะจะไฮโดรโพนิกส์ฟาร์ม” เลขที่ 65 หมู่ 4 ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี ติดกับวัดพลับ วัดโบราณแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองจันท์ มีการทำ ฟาร์มผักไฮโดรโพนิกส์ (พืชไร้ดิน) แห่งแรกของที่นี่ ผู้บุกเบิกคือ นายวีระ นามพระจันทร์ หรือที่ชาวจันท์เรียกกันติดปากว่า “ปลัดวีระ”
ที่มาที่ไปการทำฟาร์มผักบนดินแดนที่ได้ชื่อว่าเมืองผลไม้ คุณวีระ เปิดเผยว่า ตนรับราชการมา 25 ปี เป็นปลัดอำเภอมาหลายแห่ง กระทั่งปี 45 เป็นปลัดจังหวัดจันทบุรี ขณะรับราชการได้ ช่วยเหลือ ชาวสวนเรื่องปัญหาผลไม้ราคาตกมาโดยตลอด [...]

อยากเชิญชวนมากินผักออแกนิกกันเยอะๆนะครับ !!

• โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ มช.

โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ มช.






ผักออแกนิกปลอดสารพิษสร้างชีวิตเสริมรายได้ โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ จาก มช.
(ผักออแกนิก ผักออร์แกนิก ผักปลอดสารพิษ)

“โครงการ พัฒนาการผลิตผักออแกนิกคุณภาพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักออแกนิกปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลง” ผลงานวิจัยเด่นประจำปี 2550 กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดำเนินการวิจัยโดย รศ.ดร.จริยา วิสิทธิ์พานิช และ รศ.ดร.ชาตรี สิทธิกุล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ

รศ.ดร.จริยา วิสิทธิ์พานิช นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลง” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการที่ทำร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงตั้งแต่ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการผลิตผักคุณภาพและปลอดสารพิษในโรงเรือน ตาข่ายกันแมลง โดยการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน นำมาปรับใช้ในสภาพโรงเรือน โดยนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้ระบบ การจัดการ เทคโนโลยีการปลูกผัก การให้ปุ๋ยระบบน้ำหยด และการจัดการกับแมลงศัตรูพืชที่ถูกต้องให้กับเกษตรกร ซึ่งทางโครงการวิจัยฯ และมูลนิธิโครงการหลวงเป็นผู้สร้างโรงเรือนตาข่ายกันแมลงสำหรับเพาะปลูกผักออแกนิก บนพื้นที่สูง

สำหรับการดำเนินการของโครงการเริ่มต้นทดลองโดยใช้พื้นที่ของโครงการหลวง 1 แห่ง คือบ้านแม่โถ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ จากนั้นเกษตรกรนำร่องที่ได้รับการคัดเลือกเหล่านี้จะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ แก่เกษตรกรรายใหม่ในพื้นที่อื่นๆ โครงการระยะที่ 2 ได้ขยายงานไปบนพื้นที่สูง คือบ้านอมพาย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน และพื้นที่ราบที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยมีการจัดทำหลังคาพลาสติกโค้งคลุมแปลงผัก เพื่อป้องกันแรงกระแทกจากฝน ทำให้สามารถปลูกผักได้ในช่วงฤดูฝน รวมทั้งเปลี่ยนวิธีการหว่านเมล็ดในแปลงมาเป็นการเพาะเมล็ดในกระบะเพาะแล้ว ย้ายปลูก ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าของเดิม

การผลิตผักปลอดภัยนี้ เป็นการนำเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยหลายชุดในโครงการภายใต้การสนับสนุนของสำนัก งานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาใช้ในการผลิตพืช และประสานงานฝ่ายการตลาดของมูลนิธิโครงการหลวงที่รับซื้อผักปลอดสารพิษเพื่อ ให้ได้ข้อมูลปริมาณผลผลิตและข้อมูลการจัดการการตลาด เพื่อเลือกชนิดของพืช ที่ตลาดต้องการในแต่ละฤดูกาล แล้วทำการผลิตผักที่เหมาะสมในแต่ละช่วงฤดูการผลิต หลังจากนั้นจัดให้มีการอบรมเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม และการปฏิบัติในแปลงปลูกเป็นขั้นตอน โดยเทคโนโลยีที่ได้นำไปถ่ายทอด ประกอบด้วย การจัดการดินและปุ๋ย โดยอาศัยการวิเคราะห์ดินเพื่อตรวจสอบสภาพดินและการเลือกปุ๋ยให้ตรงกับความ ต้องการของพืช การทำปุ๋ยหมัก การให้ปุ๋ยระบบน้ำ (Fertigation) โดยอาศัยเครื่องวัดความเครียดของน้ำในดิน (Tensiometer) รวมทั้งการจัดการศัตรูพืชที่เน้นวิธีการผสมผสาน และการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงวัน ตัวห้ำ ซีโนเซียในกระบะเพาะ เพื่อควบคุมหนอนชอนใบและแมลงหวี่ขาวที่เข้ามาทำลายพืชผักทำให้ลดความเสียหาย ลงได้

วิธีการจัดการศัตรูพืชดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการกำจัด แมลงศัตรูพืชลงได้ถึง 50% เว้นแต่ถ้ามีการระบาดหนักของโรคพืช และแมลง ก็สามารถนำสารเคมีมาใช้ได้บ้างแต่จะต้องเลือกสารเคมีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก และผู้บริโภคมาใช้ ช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะจะได้ไม่ต้องได้รับผลกระทบจากการ พ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่สำคัญคือ การปลูกผักด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นที่รู้จักของกลุ่มเกษตรกรแบบเรียกกันติดปากว่า “ปลูกผักแบบ สกว.” ซึ่งวิธีนี้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,000-5,000 บาทต่อเดือน ต่อการเพาะปลูกพืชผัก 1 ฤดู ต่อ 1 โรงเรือนขนาด 6 x 30 เมตร ซึ่งใน 1 ปี จะปลูกผักได้ 3-4 รุ่น ทำให้เกษตรกรมีรายได้สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นเพราะการนำผลงานการวิจัยมาประยุกต์ใช้ได้จริงและทำให้เกษตรกรมี รายได้และคุณภาพชีวิตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ด้วย

รศ.ดร.จริยา กล่าวเสริมว่า ภายหลังสิ้นสุดโครงการและประสบความสำเร็จกับโครงการระยะที่ 2 แล้วได้มีการต่อยอดโครงการไปอีก 3 จังหวัด ภายใต้ชื่อ โครงการผลิตผักคุณภาพ เพื่อส่งออก และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงจังหวัด เชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักออแกนิก ปลอดภัยในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงตามพื้นที่เป้าหมาย และสร้างเกษตรกรผู้นำและขยายเครือข่ายการผลิตผักปลอดภัย โดยมีความเชื่อมโยงกับตลาด ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการใน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย บ้านปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา บ้านผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของโครงการหลวง ปัจจุบันเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดการปลูกผักแบบ สกว. ได้ส่งผลผลิตจำหน่ายผ่านตลาดมูลนิธิโครงการหลวง และที่จังหวัดนครปฐม เป็นพื้นที่ที่เกษตรกรมีตลาดรับซื้อประจำอยู่แล้ว

รศ.ดร.จริยาให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า การปลูกผักให้ปลอดภัยในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงมีปัจจัยที่สำคัญคือตลาด เนื่องจากการเลือกผักที่จะปลูกนั้นจะต้องดูถึงความต้องการของตลาดรวมทั้ง ความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ในการปลูกผักออแกนิก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน