วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

• โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ มช.

โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ มช.






ผักออแกนิกปลอดสารพิษสร้างชีวิตเสริมรายได้ โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ จาก มช.
(ผักออแกนิก ผักออร์แกนิก ผักปลอดสารพิษ)

“โครงการ พัฒนาการผลิตผักออแกนิกคุณภาพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักออแกนิกปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลง” ผลงานวิจัยเด่นประจำปี 2550 กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดำเนินการวิจัยโดย รศ.ดร.จริยา วิสิทธิ์พานิช และ รศ.ดร.ชาตรี สิทธิกุล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ

รศ.ดร.จริยา วิสิทธิ์พานิช นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการพัฒนาการผลิตผักคุณภาพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลง” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการที่ทำร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงตั้งแต่ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการผลิตผักคุณภาพและปลอดสารพิษในโรงเรือน ตาข่ายกันแมลง โดยการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน นำมาปรับใช้ในสภาพโรงเรือน โดยนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้ระบบ การจัดการ เทคโนโลยีการปลูกผัก การให้ปุ๋ยระบบน้ำหยด และการจัดการกับแมลงศัตรูพืชที่ถูกต้องให้กับเกษตรกร ซึ่งทางโครงการวิจัยฯ และมูลนิธิโครงการหลวงเป็นผู้สร้างโรงเรือนตาข่ายกันแมลงสำหรับเพาะปลูกผักออแกนิก บนพื้นที่สูง

สำหรับการดำเนินการของโครงการเริ่มต้นทดลองโดยใช้พื้นที่ของโครงการหลวง 1 แห่ง คือบ้านแม่โถ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ จากนั้นเกษตรกรนำร่องที่ได้รับการคัดเลือกเหล่านี้จะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ แก่เกษตรกรรายใหม่ในพื้นที่อื่นๆ โครงการระยะที่ 2 ได้ขยายงานไปบนพื้นที่สูง คือบ้านอมพาย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน และพื้นที่ราบที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยมีการจัดทำหลังคาพลาสติกโค้งคลุมแปลงผัก เพื่อป้องกันแรงกระแทกจากฝน ทำให้สามารถปลูกผักได้ในช่วงฤดูฝน รวมทั้งเปลี่ยนวิธีการหว่านเมล็ดในแปลงมาเป็นการเพาะเมล็ดในกระบะเพาะแล้ว ย้ายปลูก ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าของเดิม

การผลิตผักปลอดภัยนี้ เป็นการนำเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยหลายชุดในโครงการภายใต้การสนับสนุนของสำนัก งานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาใช้ในการผลิตพืช และประสานงานฝ่ายการตลาดของมูลนิธิโครงการหลวงที่รับซื้อผักปลอดสารพิษเพื่อ ให้ได้ข้อมูลปริมาณผลผลิตและข้อมูลการจัดการการตลาด เพื่อเลือกชนิดของพืช ที่ตลาดต้องการในแต่ละฤดูกาล แล้วทำการผลิตผักที่เหมาะสมในแต่ละช่วงฤดูการผลิต หลังจากนั้นจัดให้มีการอบรมเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม และการปฏิบัติในแปลงปลูกเป็นขั้นตอน โดยเทคโนโลยีที่ได้นำไปถ่ายทอด ประกอบด้วย การจัดการดินและปุ๋ย โดยอาศัยการวิเคราะห์ดินเพื่อตรวจสอบสภาพดินและการเลือกปุ๋ยให้ตรงกับความ ต้องการของพืช การทำปุ๋ยหมัก การให้ปุ๋ยระบบน้ำ (Fertigation) โดยอาศัยเครื่องวัดความเครียดของน้ำในดิน (Tensiometer) รวมทั้งการจัดการศัตรูพืชที่เน้นวิธีการผสมผสาน และการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงวัน ตัวห้ำ ซีโนเซียในกระบะเพาะ เพื่อควบคุมหนอนชอนใบและแมลงหวี่ขาวที่เข้ามาทำลายพืชผักทำให้ลดความเสียหาย ลงได้

วิธีการจัดการศัตรูพืชดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการกำจัด แมลงศัตรูพืชลงได้ถึง 50% เว้นแต่ถ้ามีการระบาดหนักของโรคพืช และแมลง ก็สามารถนำสารเคมีมาใช้ได้บ้างแต่จะต้องเลือกสารเคมีที่ปลอดภัยต่อผู้ปลูก และผู้บริโภคมาใช้ ช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะจะได้ไม่ต้องได้รับผลกระทบจากการ พ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่สำคัญคือ การปลูกผักด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นที่รู้จักของกลุ่มเกษตรกรแบบเรียกกันติดปากว่า “ปลูกผักแบบ สกว.” ซึ่งวิธีนี้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,000-5,000 บาทต่อเดือน ต่อการเพาะปลูกพืชผัก 1 ฤดู ต่อ 1 โรงเรือนขนาด 6 x 30 เมตร ซึ่งใน 1 ปี จะปลูกผักได้ 3-4 รุ่น ทำให้เกษตรกรมีรายได้สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นเพราะการนำผลงานการวิจัยมาประยุกต์ใช้ได้จริงและทำให้เกษตรกรมี รายได้และคุณภาพชีวิตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ด้วย

รศ.ดร.จริยา กล่าวเสริมว่า ภายหลังสิ้นสุดโครงการและประสบความสำเร็จกับโครงการระยะที่ 2 แล้วได้มีการต่อยอดโครงการไปอีก 3 จังหวัด ภายใต้ชื่อ โครงการผลิตผักคุณภาพ เพื่อส่งออก และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงจังหวัด เชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักออแกนิก ปลอดภัยในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงตามพื้นที่เป้าหมาย และสร้างเกษตรกรผู้นำและขยายเครือข่ายการผลิตผักปลอดภัย โดยมีความเชื่อมโยงกับตลาด ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการใน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย บ้านปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา บ้านผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของโครงการหลวง ปัจจุบันเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดการปลูกผักแบบ สกว. ได้ส่งผลผลิตจำหน่ายผ่านตลาดมูลนิธิโครงการหลวง และที่จังหวัดนครปฐม เป็นพื้นที่ที่เกษตรกรมีตลาดรับซื้อประจำอยู่แล้ว

รศ.ดร.จริยาให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า การปลูกผักให้ปลอดภัยในโรงเรือนตาข่ายกันแมลงมีปัจจัยที่สำคัญคือตลาด เนื่องจากการเลือกผักที่จะปลูกนั้นจะต้องดูถึงความต้องการของตลาดรวมทั้ง ความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ในการปลูกผักออแกนิก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น