วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การปลูก ผักออแกนิก โดยระบบ ไฮโดรโปนิก


การปลูก ผักออแกนิก โดยระบบ ไฮโดรโปนิก

" การปลูกพืชไร้ดิน" หรือ " การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน "หรือ ผักออแกนิค หมายถึง การปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยการใช้วัสดุปลูกต่าง ๆ ในการปลูกเช่น น้ำ ทราย กรวด ดินเผา หรือวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดิน ซึ่งพืชจะสามารเจริญเติบโต บนวัสดุปลูกได้จากการได้รับสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีน้ำผสมกับปุ๋ย หรือ ธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชต้องการทางรากพืช

ระบบปลูกพืชไร้ดินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ก็คือ ระบบการปลูกพืชที่ใช้น้ำเป็นวัสดุปลูกโดยให้สารละลายธาตุอาหาร

( น้ำผสมกับปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการ ) ผ่านทางรากพืชโดยตรงซึ่งระบบนี้เราคุ้นเคยกันดีในชื่อว่า "ระบบไฮโดรโปนิก "นั่นเอง

ข้อดีของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือ พืชออแกนิกส์
1.สารมารถทำการเพาะปลูกพืชได้ทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นในที่ที่ดินดีหรือไม่ดี หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกเราก็สามารถใช้วิธีไฮโดรโปนิกนี้ได้

2.ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่า ร่นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ทำการผลิตได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง

3.สามารถปลูกพืชเชิงธุรกิจได้หลากหลายชนิด

4.ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน จึงไม่ต้องใช้สารพิษเพื่อกำจัดแมลง เป็นระบบปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5.ให้ผลผลิตที่สดสะอาด ปราศจากสารพิษทั้งจากดินและย่าฆ่าแมลง จึงบริโภคได้อย่างมั่นใจ

6.ผลผลิตได้ปริมาณ คุณภาพและราคาดีกว่าปลูกบนดินมากเพราะสมารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้ดีกว่า

7.อัตราการใช้แรงงาน เวลาในการปลูก และค่าใช้จ่ายต่ำกว่า

8.ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเตรียมดินและกำจัดวัชพืชก่อนการปลูก

9.ใช้น้ำและธาตุอาหารได้อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้น้ำลดลงถึง10 เท่าตัวของการปลูกแบบธรรมดา

10. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารป้องกันและจำกัดแมลงได้ 100%

11.ประหยัดค่าขนส่ง เพราะสามารถเลือกพื้นที่ที่จะปลูกใกล้กับแหล่งรับซื้อได้ เนื่องจากใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก

12. มีวิธีการปลูกและการดูแลรักษาง่าย ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่คนพิการก็สามารถทำได้เป็นกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว และทางเลือกในการเพิ่มอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น คนพิการอีกด้วย
การปลูกผักออแกนิก โดยวิธี ไฮโดรโปนิก เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในปัจจุบันและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น